เทคนิคการประกอบอาหารจานเดียว

เรื่องของไข่
วิธีดูว่าไข่ เน่าหรือไม่
เจียวไข่ให้หนานุ่ม
ต้มไข่ ให้ทานอร่อยและได้คุณค่า
ต้มไข่ ให้ไข่แดงอยู่ตรงกลาง
ต้มไข่ให้ปอกง่ายๆ
เจียวไข่ไม่ให้ด้าน
ผ่าไข่ต้มอย่างไรให้สวย
ต้มไข่ที่ร้าวไม่ให้แตกเคล็ดลับการทำอาหารให้อร่อย
วิธีทำต้มยำกุ้งให้ถึงรสต้มยำ
เคล็ดลับ การหมักเนื้อเสต็ก ให้นุ่ม… อร่อย
ยำปลาหมึกให้ กรอบ อร่อย ไม่เหม็นคาว
น้ำซุปไก่หวานอร่อย
ข้าวกล้อง…หุงอย่างไรให้นุ่ม
(หมู) ต้องหมักก่อน ถึงจะอร่อย
หมูสับแกงจืด ทำอย่างไรให้นุ่มอร่อยต้ม : เคล็ดลับการต้ม การลวก
ต้มปลาไม่ให้คาว
ต้มไก่ตัวให้สวย หนังไม่ลอก
ต้มยำปลาอย่างไรไม่ให้คาว
ต้มข้าวต้มให้หอม..ม..ม..ม ชวนรับประทาน
ต้มผักให้สีเขียวสวยด้วยวิธีไหน
ลวกเส้นสปาเกตตี้ให้ทานอร่อย
เคล็ดลับ ลวกผักให้สีเขียวสดใส
ลวกผักให้เขียวสวยน่ารับประทานเคล็ดลับการแกง
เคล็ดลับ วิธีทำแกงเขียวหวานให้อร่อย
วิธีทำแกงส้มให้อร่อยเริด
เคล็ดลับแกงเลียงให้อร่อยได้หลายๆมื้อเคล็ดลับการทอด
วิธีทอดไก่ ให้กรอบนอก นุ่มใน
ปั้นทอดมัน ไม่ให้เหนียวติดมือ
เรื่องทอด ทอด 1 : ทอดปลาสด
เรื่องทอด ทอด 2 : ทอดปลาทู
เรื่องทอด ทอด 3 : ทอดปลาไม่ให้น้ำมันกระเด็น
ทอดปลาไม่ให้ติดกระทะ
เทคนิคทอดอาหารไม่ให้เลี่ยน
ทอดอาหารอย่างไรไม่ให้อมน้ำมัน
เบคอน-ทอดยังไงไม่ให้งอ

เคล็ดลับการตำ การยำ
อาหารประเภทยำ ทำยังไงให้อร่อย
พล่าแตกต่างจากยำอย่างไร
เคล็ดลับตำน้ำพริกกะปิให้อร่อยเลิศ
มะละกอสำหรับตำส้มตำ…
แสบร้อนที่มือเพราะพริกขี้หนู ทำไงดี???

เคล็ดลับการย่าง การเผา
เคล็ดลับวิธีเผามะเขือยาว
เคล็ดลับย่างปลา

เคล็ดลับ การเลือกซื้อ ผัก ผลไม้ และเนื้อสัตว์
หลักการเลือกซื้อผลไม้
วิธี เลือกซื้อหอย
การเลือกซื้อปูทะเล
การเลือกซื้อปลา
ดีดแล้วดม : เคล็ดไม่ลับซื้อสับปะรด
Shake Shake Shake ก่อนซื้อ มะพร้าวอ่อน
เต้าหู้ วิธีเลือกซื้อ รู้ได้อย่างไร ว่า ไม่ใส่สารกันบูด การเก็บรักษาผัก ผลไม้ และเนื้อสัตว์
วิธีเก็บน้ำมะนาวไว้ใช้นาน ๆ
วิธีเก็บหอมหัวใหญ่ไว้ใช้ได้นาน ๆ
เคล็ดลับ เรื่องปลา ปลา 1: ล้างปลา เก็บปลา
เก็บใบแมงลัก ใบโหระพา ไว้ใช้ได้หลายๆวัน
ทำอย่างไรให้ผักที่แช่เย็นดูสดใหม่
เก็บกุ้งแห้งไว้ให้ทานได้นานๆ
การเก็บเนื้อหมู
ปอกแอปเปิ้ลไม่ให้ดำการเลือกใช้ส่วนต่างๆ ของเนื้อสัตว์
การเลือกใช้เนื้อไก่ให้เหมาะกับประเภทอาหาร
การเลือกใช้เนื้อหมูให้เหมาะกับประเภทอาหาร
เนื้อวัว เลือกใช้ให้เหมาะกับประเภทอาหาร
กุ้ง : คุณค่าทางโภชนาการ และลักษณะของกุ้งแต่ละประเภทเคล็ดลับ ดับสารพัดกลิ่น
วิธีแก้กลิ่นคาวในน้ำมันทอดปลา
ล้างเซ่งจี๊หมูให้ไม่เหม็น
ล้างกระเพาะปลาไม่ให้เหลือกลิ่นน้ำมัน
ปราบกลิ่นสะตอด้วยมะเขือเปราะ
เคล็ดลับ ดับกลิ่นเครื่องใน
เคล็ดลับจัดการกับกลิ่นกระเทียม ที่เหม็นติดมือ
เทคนิคการล้างหอยให้สะอาด
กลิ่นปลาอบอวลภายในบ้าน จะจัดการอย่างไรดี
วิธีทำเนยแข็งๆ ให้อ่อนนุ่มลงเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย ในครัว
ทำยังไง? ให้พริกขี้หนูที่ทุบไว้ไม่ดำ
เคี่ยวน้ำยา ไม่ต้องคอยเฝ้าคน และไม่ไหม้
อบเนื้ออย่างไมให้ติดกระทะ
ใบมะกรูด มหัศจรรย์กำจัดแมลงในข้าวสาร
Dinnerใต้แสงเทียน ให้โรแมนติก(ชนิดไร้ควัน)
ไร้รอยปะชุนด้วยไข่ขาว

เคล็ดลับ ช่วยงานทำความสะอาด
คราบเลือด รอยเปื้อนหมึก แก้ปัญหาอย่างไร
วิธีการง่ายๆ ของการลอกป้ายติดราคา
ขจัดคราบเปื้อนที่เตาไมโครเวฟ
ถุงมือพลาสติกใช้อย่างไรไม่ให้รำคาญ
ตะแกรงย่างอาหารล้างยาก ทำอย่างไรดี
มะนาวให้คุณมากกว่าความเปรี้ยว
เปลือกไข่ช่วยให้ผ้าขาว
ทำความสะอาดเล็บมือด้วยมะนาว

โพสท์ใน Uncategorized | ติดป้ายกำกับ | ใส่ความเห็น

การเลือกซื้ออาหาร

หลักในการเลือกซื้ออาหารสด

เนื้อหมูและเนื้อวัว ควรเลือกเนื้อหมูที่มีสีชมพูอ่อน นุ่ม เป็นมัน ไม่มีกลิ่นเหม็น และควรเลือกเนื้อวัวที่มีสีแดงสด ไม่มีกลิ่นเหม็นเปรี้ยว ไม่มีเมือก ต้องไม่มีเม็ดสีขาวใสคล้ายเม็ดสาคู เพราะเป็นตัวอ่อนของพยาธิตัวตืด

ตับ ที่ดีต้องมีเนื้อละเอียด ไม่มีรูพรุน

เนื้อเป็ดและเนื้อไก่ ลักษณะผิวเต็มไม่เหี่ยวย่น ไม่มีจ้ำเขียวๆ ไม่ซีด ปลายปีกต้องไม่มีสีคล้ำ อกต้องมีเนื้อเต็ม ไม่มีรอยยุบ ตีนอ่อนไม่แข็งกระด้าง ไก่อ่อนจะมีกระดูกอกมากกว่าไก่แก่ และมักมีขนอ่อนๆด้วย

ปลา เหงือกต้องมีสีแดงสดไม่เป็นสีเขียว ไม่มีกลิ่นเหม็นและเมือก หรือถ้ามีเมือกก็ต้องเป็นเมือกใส ตาใสไม่จมลงไปในเบ้าตา ตาไม่ขุ่นเป็นสีเทา เนื้อแน่นแข็ง ผิวสดใส เกล็ดใส ท้องไม่แตก

เนื้อกุ้ง เลือกที่เนื้อแน่นไม่มีกลิ่นเหม็น ตาใส เห็นสีแดงของมันกุ้งชัด หัวกุ้งไม่หลุดง่าย

หอย ฝาต้องปิดสนิท ไม่มีกลิ่นเหม็น ไม่มีเมือก ไม่มีสิ่งสกปรกมากเกินไป เมื่อแกะเปลือกแล้วเนื้อจะต้องมีสีแดงสดไม่ซีด เคลื่อนไหวได้เมื่อถูกแตะต้อง

ไข่ เปลือกต้องนวลเกลี้ยง ไม่มีรอยด่าง ไม่ร้าว เมื่อต่อยออกไข่ขาวจะไม่มีสี ไข่แดงจะอยู่ตรงกลางและกลม สีสม่ำเสมอไม่มีสิ่งแปลกปลอม

ผักผลไม้ ควรซื้อผักสด ไม่ซื้อผักผลไม้ที่มีรอยช้ำ ดูความอ่อนแก่ของผักและผลไม้(ผักบางชนิดอร่อยเมื่อยังอ่อน เช่น ผักบุ้ง ผักบางอย่างต้องรอให้แก่จัดก่อนถึงจะอร่อย เช่น มะเขือเทศ) ซื้อผักผลไม้ตามฤดูกาลเพราะจะมีราคาถูก

หลักในการเลือกซื้ออาหารแห้ง

ลือกอาหารที่สะอาด ไม่มีสิ่งสกปรกปน

บรรจุภาชนะที่สะอาด

ที่ถั่วไม่มีจุดด่างดำ เพราะอาจมีสารที่เรียกว่าอะฟลาท็อกซิน

หลักในการเลือกอาหารกระป๋อง

ที่ฉลากต้องมีชื่อทางการค้า เลขทะเบียนอาหาร สถานที่ผลิต วันเดือนปีที่ผลิตและวันหมดอายุ น้ำหนัก บอกวัตถุเจือปนในอาหาร เช่น วัตถุกันเสีย

ลักษณะกระป๋องต้องไม่บุบหรือนูน กระป๋องเรียบ ไม่มีกลิ่น ไม่รั่ว

หลักในการเลือกซื้ออาหารสำเร็จรูป

ภาชนะบรรจุไม่ฉีกขาด

ฉลากแสดงชื่ออาหารทางการค้า เลขทะเบียนการค้า สถานที่ผลิต ส่วนประกอบ วันเดือนปีที่ผลิตและหมดอายุ ข้อความที่ระบุว่าใส่วัตถุกันเสียหรือไม่

หลักในการเลือกซื้อน้ำมันปรุงอาหาร

อ่านฉลากว่าทำมาจากพืชชนิดใด

ควรซื้อน้ำมันพืชที่มีกรดไลโนอิคเกินร้อยละ 50 ของปริมาตรทั้งหมดเสมอ

โพสท์ใน Uncategorized | ใส่ความเห็น

ข้าวผัดแกงเขียวหวานไก่

โพสท์ใน Uncategorized | ใส่ความเห็น

อาหารจานเดียว

อาหารจานเดียว

วันที่โพส 20 ต.ค. 2552 โพสโดย ทีมงานทรูปลูกปัญญา

อาหารจานเดียว

    ความหมายอาหารจานเดียว ในที่นี่หมายถึง อาหารที่ให้คุณค่าทางอาหารครบ 5 หมูของไทยโดยพยายามให้อาหารครบ 5 หมู่ในหนึ่งจาน
    
    ประโยชน์อาหารจานเดียว
1.    ให้สารอาหารครบตามความต้องการของร่างกายของแต่ละบุคคลซึ่งขึ้นอยู่กับอายุ เพศ ลักษณะการทำงานและสภาวะของร่างกาย
2.    ประหยัดเวลา แรงงาน และค่าใช้จ่ายในการประกอบอาหารแต่ละมื้อ โดยรู้จักใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า การใช้อาหารทดแทนและการนำอาหารที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาดัดแปลงประกอบเป็นอาหารบริโภค โดยให้พอเหมาะกับการบริโภคของแต่ละบุคคลในครอบครัว
3.    สร้างอุปนิสัยในการบริโภค เป็นการสร้างพื้นฐานการบริโภคที่ง่าย ประหยัดถูกหลักโภชนาการโดยเฉพาะเด็กที่อยู่ในวันก่อนเรียน ซึ่งเป็นวัยที่เลือกกินอาหารตามชอบ ทำให้ได้อาหารไม่ครบตามความต้องการของร่างกาย และเป็นสาเหตุให้เด็กให้วัยนี้เป็นโรคขาดสารอาหารเป็นจำนวนมาก

    ส่วนประกอบของอาหารจานเดียว
1.    ประกอบด้วยอาหารหลักครบ 5 หมู่
2.    สงวนคุณค่าทางโภชนาการ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกายอย่างแท้จริง
3.    ลักษณะอาหารต้องจัดให้เหมาะสมกับผู้บริโภค ทั้งรสนิยม วัย สุขภาพ

    สุขอนามัยในการประกอบอาหารจานเดียว
1.    ร่างกายผู้ปรุงอาหารต้องไม่เป็นโรคติดต่อ หรือ ไม่ควรให้ผู้ที่เป็นโรคปรุงอาหาร
2.    เครื่องแต่งกายของผู้ปรุงต้องสะอาด เช่น มีผ้าคลุมผม และสามผ้ากันเปื้อน

    ประกอบอาหารเพื่อสงวนคุณค่า
การประกอบอาหารเพื่อสงวนคุณค่าทางอาหาร มีรูปแบบวิธีการต่าง ๆ เช่น การต้ม การนึ่ง การผัด การทอด ฯลฯ
–    การประกอบอาหารประเภทผัก ให้ล้างให้สะอาด หั่นด้วยมีดคม ผัดหรือต้มให้สุกด้วยไฟแรง ใส่น้ำแต่น้อย และปิดฝาให้สนิท
–    การประกอบอาหารประเภทเนื้อสัตว์ หุงต้มให้สัก ระยะเวลาในการหุงต้มขึ้นอยู่กับการเลือกซื้อเนื้อส่วนใดขนาดของชิ้นเนื้อ วิธีตัด-หั่นเนื้อ แต่การหุงต้มนาน จะทำให้เสียคุณค่าทางอาหาร

    การเลือกซื้ออาหารสด
1.    เลือกซื้อตามฤดูกาล
2.    เลือกซื้ออาหารที่มีในท้องถิ่น
3.    เลือกซื้ออาหารสดใหม่ ตามชนิดและประเภท

    การเลือกซื้ออาหารแห้ง
1.    อ่านฉลากข้างผลิตภัณฑ์ก่อน เพื่อดูส่วนประกอบ ปริมาณน้ำหนัก วันเดือนปีที่ผลิต
2.    สำหรับอาหารที่ไม่มีบรรจุภัณฑ์ ให้ดูลักษณะของอาหาร

    การเลือกใช้อุปกรณ์ให้เหมาะสมกับชนิดของอาหาร
    หลักการในการการเลือกซื้อเครื่องมือเครื่องใช้ ยึดหลักคุณภาพเครื่องมือเป็นสำคัญ เพราะเครื่องมือที่มีคุณภาพดีทนทาน ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพ ประหยัดเวลา แรงงาน และต้นทุน การเลือกใช้ การเก็บ การบำรุงรักษาเครื่องมือเครื่องใช้ เตาแก๊ส ดูแลสายแก๊ส และปิดวาวล์ที่ถังเสมอเมื่อเลิกใช้งาน ทำความสะอาดบริเวณเตา และรอบ ๆ เตา ไม่ให้มีคราบไขมันเกาะ เครื่องบดไฟฟ้า ไม่ใช้ติดต่อกันเป็นเวลาอาจ ทำห้ให้เครื่องไหม้ ทำความสะอาดก่อนนำไปเก็บเสมอ

    การคิดต้นทุนกำไรและการกำหนดราคาขาย
     ต้นทุน หมายถึง ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่ต้องจ่ายไปเพื่อให้ได้สินค้ามา สินค้าในที่นี้เพื่อนำมาเป็นส่วนประกอบในการผลิตอาหารที่จัดจำหน่าย กำไรและขาดทุน เกิดจากต้นทุน และการขาย ถ้าต้นทุนน้อย ขายไปเกินกว่าต้นทุน เรียกว่า “กำไร” แต่ถ้าขายไปได้เงินน้อยกว่าต้นทุน เรียกว่า “ขาดทุน” การกำหนดราคาจำหน่าย กำหนดจากต้นทุน บวก กำไร

    การจัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือ เครื่องใช้ในการปฏิบัติงาน
    เตรียมอุปกรณ์ในการปรุงอาหารแต่ชนิดให้เหมาะสม เช่น
–    อุปกรณ์การชั่ง-ตวง ได้แก่ ถ้วยตวง ช้อนตวง ฯลฯ
–    อุปกรณ์หุงต้ม ได้แก่ กระทะ หม้อ ตะหลิว ทัพพี ฯลฯ
–    อุปกรณ์ที่ใช้บรรจุอาหาร และเสริฟอาหาร ได้แก่ จาน ชาม ถ้วย ช้อน แก้วน้ำ ถาด ผ้าเช็ดมือ ผ้าเช็ดปาก ฯลฯ
–    อุปกรณ์ในการล้าง เช่น อ่างน้ำ น้ำยาล้างจาน ฟองน้ำ ถาด ที่ตาก หรือ ผึ่ง ภาชนะ

    การประกอบอาหารจานเดียวชนิดต่าง ๆ และการเลือกสูตรอาหาร
–    ข้าวราดแกงสูตรต่าง ๆ ข้าวหน้าเป็ด ข้าวขาหมู ข้าวมั้นไก่ ข้ามหมูแดง ฯลฯ
–    อาหารเส้น เช่น ก๋วยเตี๋ยว สปาเก็ตตี้ ขนมจีน สุกี้
–    ข้าวผัดสูตรต่าง ๆ เช่น ข้าวผัดกุ้ง ปู หมู ไข่ ข้าวผัดน้ำพริก ฯลฯ
การเลือกประเภท และสูตรของอาหารจะพิจารณาจากกาละเทศะ สถานที่ ภาชนะจำนวนคน รวมทั้งบรรยากาศของงานนั้น ๆ สิ่งสำคัญคือ การใช้ทักษะในการประกอบอาหารโดยคำนึงถึงคุณค่า และการจัดวางอย่างชวนให้รับประท

This slideshow requires JavaScript.

โพสท์ใน Uncategorized | ใส่ความเห็น

ขนมฝอยทอง

โพสท์ใน Uncategorized | ใส่ความเห็น